ศูนย์ฉายรังสี

งานบริการฉายรังสีอาหารสมุนไพรและอื่นๆ

ศูนย์ฉายรังสีเปิดให้บริการฉายรังสีผู้ประกอบการที่มีปริมาณน้อย/ทดลองหรือไม่เกิน 1 ตู้ฉายรังสีดังนี้ 

  • ปริมาณรังสีต่ำ - ปานกลาง  วันพฤหัสบดี  สัปดาห์ที่ 2 หรือ 4 ของทุกเดือน
  • ปริมาณรังสีสูง                     วันพฤหัสบดี  สัปดาห์ที่ 4 ของทุกเดือน  

ศูนย์ฉายรังสีให้บริการฉายรังสีแกมมาแก่บุคคลทั่วไปโดยผลิตภัณฑ์ที่สามารถฉายรังสีนั้oมีหลากหลายชนิดเช่นสมุนไพรเครื่องเทศผลิตผลทางการเกษตรอาหารแปรรูปอาหารสัตว์ผลไม้ส่งออกไปสหรัฐอเมริกาเวชภัณฑ์เครื่องมือแพทย์เป็นต้นโดยทั่วไปมีวัตถุประสงค์ในการฉายรังสีดังนี้

1.      ยับยั้งการงอก (ปริมาณรังสีดูดกลืนสูงสุดไม่เกิน 1 กิโลเกรย์)

2.      ชะลอการสุก (ปริมาณรังสีดูดกลืนสูงสุดไม่เกิน 2 กิโลเกรย์)

3.      ควบคุมการแพร่พันธุ์ของแมลง (ปริมาณรังสีดูดกลืนสูงสุดไม่เกิน 2 กิโลเกรย์)

4.      ลดปริมาณปรสิต (ปริมาณรังสีดูดกลืนสูงสุดไม่เกิน 4 กิโลเกรย์)

5.      ยืดอายุการเก็บรักษา   (ปริมาณรังสีดูดกลืนสูงสุดไม่เกิน 7 กิโลเกรย์)

6.      ลดปริมาณจุลินทรีย์และจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรค  (ปริมาณรังสีดูดกลืน 2-20 กิโลเกรย์)
   *กรณีเป็นอาหารปริมาณรังสีดูดกลืนสูงสุดต้องไม่เกิน 10 กิโลเกรย์

7.      การปลอดเชื้อ (สเตอริไลเซชัน) (ปริมาณรังสีดูดกลืน 15 – 50 กิโลเกรย์)

            อ่านเพิ่มเติมได้ที่ เอกสารเผยแพร่การฉายรังสี

ขั้นตอนการรับบริการฉายรังสี 

ศูนย์ฉายรังสี สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)

37 หมู่3 เทคโนธานี ต.คลองห้า อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12120

โทรศัพท์ : 02-401-9889 ต่อ 6101 , 6103 มือถือ/Line :063-271-6940 E-mail : tic.tint@hotmail.com / tic@tint.or.th

 

     1.   ลูกค้าติดต่อสอบถามข้อมูลเบื้องต้นทาง โทรศัพท์ e-mail หรือติดต่อด้วยตนเอง

     2.   ลูกค้ากรอกข้อมูลในแบบฟอร์ม แล้วส่งเอกสารให้กับศูนย์ฉายรังสีทาง E-mail หรือช่อง

           ทางการสื่อสารอื่นๆ

-  แบบคำขอฉายรังสีผลิตภัณฑ์และอาหาร (FM-IC2-26)

-  แบบคำขอรับหนังสือรับรองการฉายรังสี (FM-IC2-70) **เฉพาะกรณีที่ต้องการใบรับรองฯ Certificate of Gamma Irradiation**

กรณีลูกค้าใหม่ (ส่งเอกสารสำเนาเพิ่มเติมดังนี้)

-  สัญญาขอรับบริการฉายรังสี (FM-IC2-30)

-  หนังสือรับรองบริษัทภพ.20สำเนาบัตรประชาชนหนังสือมอบอำนาจ (ตามที่ระบุในส่วนที่ 4

   ของสัญญาขอรับบริการฉายรังสี)

ใบจดทะเบียนอาหาร/ใบแจ้งรายละเอียดอาหาร  (สบ.5)

     3.   ลูกค้ารอรับใบประเมินราคา หรือเอกสารตอบรับอื่นๆ ที่เป็นการยืนยันการให้บริการจาก

           ศูนย์ฉายรังสีฯ ทาง e-mail หรือช่องทางการสื่อสารอื่นๆ

     4.   ลูกค้ามาส่งของตามวันและเวลาที่ได้รับการยืนยันจากศูนย์ฉายรังสีฯ พร้อมถือเอกสาร

          หลักฐานในข้อ 3. มาแสดงในวันส่งของ

กรณีลูกค้าใหม่ (ส่งเอกสารตัวจริงที่รับรองสำเนาดังนี้)

-  สัญญาขอรับบริการฉายรังสี (FM-IC2-30)

-  หนังสือรับรองบริษัทภพ.20สำเนาบัตรประชาชนหนังสือมอบอำนาจ (ตามที่ระบุในส่วนที่ 4 ของสัญญาขอรับบริการฉายรังสี)

     5.   ลูกค้าได้รับใบแจ้งหนี้ จากศูนย์ฉายรังสีฯ หลังจากส่งของเรียบร้อยแล้ว ทาง e-mail หรือช่องทาง

           การสื่อสารอื่นๆ

     6.   ลูกค้าดำเนินการชำระค่าบริการโดยการโอนเข้าบัญชี แล้วส่งหลักฐานยืนยันมาให้ศูนย์ฉายรังสีฯ

           ทาง e-mail หรือช่องทางการสื่อสารอื่นๆ

     7.   ลูกค้ามารับของตามวันและเวลาที่ได้รับการยืนยันจากศูนย์ฉายรังสีฯ พร้อมถือเอกสารหลักฐาน

           ในข้อ 3. มาในวันรับของ

     8.   ศูนย์ฉายรังสีจะดำเนินการตรวจสอบการชำระค่าบริการก่อนส่งของคืนให้ลูกค้า 

          **หากยังไม่ได้ชำระจะไม่สามารถรับของกลับได้**

     9.   ศูนย์ฉายรังสีจะดำเนินการส่งเอกสารต่างๆตามไปให้ทางไปรษณีย์หลังจากได้รับของกลับไปแล้ว ดังนี้

-  ใบแจ้งผลปริมาณรังสี

-  หนังสือรับรองการฉายรังสีแกมมา Certificate of Gamma Irradiation **เฉพาะกรณีที่ขอไว้ **

-   ใบแจ้งหนี้

-   ใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษี

------------------------------------------------------------------------------------

หมายเหตุบริการและคำแนะนำ

1)  กรณีผลิตภัณฑ์เป็นอาหาร จะต้องแสดงฉลากอาหารฉายรังสีที่ได้รับเลขสารบบอาหารฉายรังสีจาก อย. แล้วบนผลิตภัณฑ์ และให้นำสำเนาใบ สบ. 5 ส่งให้แก่ศูนย์ฉายรังสีเมื่อทำการยื่นขอรับบริการฉายรังสีอาหารนั้นๆ

2) เมื่อผ่านกระบวนการฉายรังสีแล้ว ควรเก็บรักษาสภาพบรรจุภัณฑ์ให้ถูกต้องสมบูรณ์ เพื่อควบคุม ตามวัตถุประสงค์ของการฉายรังสี

    3) การยกเลิกงานของลูกค้า จะต้องทำการแจ้งล่วงหน้าก่อนวันนัดส่งของอย่างน้อย 1 วันทำการ


การบรรจุผลิตภัณฑ์ที่ถูกต้องและเหมาะสมในการฉายรังสี

   1. ควรเป็นกล่องลูกฟูกหนา 5 ชั้นหรือเป็นกล่องลูกฟูกที่มีสภาพสมบูรณ์แข็งแรงสามารถวางซ้อนกันได้หลายชั้นโดยไม่บุบหรือยุบตัว

   2. บรรจุผลิตภัณฑ์ให้เหมาะสมกับพื้นที่กล่องไม่ควรมีพื้นที่ว่างหรืออัดแน่นจนกล่องเสียรูปทรง

   3. น้ำหนักต่อกล่องไม่ควรหนักจนเกินไปหรือควรมีน้ำหนักต่อกล่องประมาณ 10 กก.

 ตัวอย่างการบรรจุผลิตภัณฑ์ที่ถูกต้อง