เครื่องมือทางนิวเคลียร์

เครื่องปฏิกรณ์ปรมาณูวิจัย


คุณลักษณะของเครื่องปฏิกรณ์

เครื่องปฏิกรณ์ปรมาณูวิจัย-1 ปรับปรุงครั้งที่ 1 หรือเรียกโดยย่อว่าเครื่องปปว-1/1 เป็นเครื่องปฏิกรณ์ปรมาณูวิจัยของประเทศไทยซึ่งเป็นแหล่งกําเนิดนิวตรอนขนาดใหญ่สําหรับการใช้ประโยชน์จากนิวตรอนในหลายๆด้านเช่นด้านการแพทย์อุตสาหกรรมการเกษตรและการศึกษาวิจัยเป็นต้นเครื่องปปว-1/1 เป็นเครื่องปฏิกรณ์ปรมาณูวิจัยชนิด TRIGA MARK lII ซึ่งถูกออกแบบและสร้างโดยบริษัท General Atomics (GA) ประเทศสหรัฐอเมริกา


ปปว-11 มีส่วนประกอบหลักคือแกนเครื่องปฏิกรณ์ปรมาณูระบบระบายความร้อนเครื่องกําบังรังสีและระบบวัดและควบคุมโดยแต่ละส่วนประกอบมีรายละเอียดโดยสังเขปดังนี้

 

แกนเครื่องปฏิกรณ์ปรมาณู

แกนเครื่องปฏิกรณ์ปรมาณูเป็นหัวใจของเครื่องปปว-1/1 ซึ่งทําหน้าที่ผลิตนิวตรอนเพื่อการใช้ประโยชน์แกนเครื่องปปว-1/1 ประกอบด้วยแท่งเชื้อเพลิงหลายแห่งอยู่ภายในถังปฏิกรณ์และภายในแท่งเชื้อเพลิงแต่ละแท่งประกอบด้วยเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ชนิดยูเรเนียมเซอร์โคเนียมไฮไดรด์ (Uranium-Zirconium Hydride,UZrH) ปัจจุบันแท่งเชื้อเพลิงที่ใช้ในแกนเครื่องปปว-1/1มี 2 ชนิดคือชนิดที่มีปริมาณยูเรเนียมต่อปริมาณสารประกอบยูเรเนียมเซอร์โครเนียมไฮไดร์ 8.5% และ 20% โดยทั้งสองชนิดมีการเสริมสมรรถนะ (มีปริมาณยูเรเนียม 235ต่อปริมาณยูเรเนียมทั้งหมด) ประมาณ 20%

 

ระบบระบายความร้อน

การเกิดปฏิกริยาลูกโซ่ภายในแท่งเชื้อเพลิงนอกจากจะให้นิวตรอนแล้วยังเกิดความร้อนขึ้นอีกด้วยเนื่องจากความร้อนที่เกิดขึ้นในแกนเครื่องปปว-1/1 ไม่ได้นําไปใช้ประโยชน์ดังนั้นจึงจําเป็นที่จะต้องระบายความร้อนทิ้งเครื่องปปว-1/1 ใช้หลักการระบายความร้อนจากแกนเครื่องปฏิกรณ์ฯแบบที่เรียกว่าการพาความร้อนโดยธรรมชาติ (Natural Convection) ซึ่งหมายถึงน้ําที่ได้รับความร้อนจากแกนเครื่องปฏิกรณ์ฯจะร้อนกว่าน้ําส่วนอื่นในบ่อและจะลอยตัวสูงขึ้นสู่ผิวน้ําโดยธรรมชาติและน้ําที่ร้อนกว่านี้จะถูกดูดออกไปด้วยเครื่องสูบน้ําผ่านทางท่อสเตนเลสขนาด 6 นิ้วที่ฝังทะลุผ่านด้านข้างของผนังบ่อเพื่อไปแลกเปลี่ยนความร้อนกับน้ําในอีกระบบหนึ่งในอุปกรณ์แลกถ่ายความร้อน (Heat Exchanger) และในที่สุดความร้อนของน้ำในอีกระบบหนึ่งจะถูกระบายสู่บรรยากาศโดยใช้หอระบายความร้อน (Cooling Tower)ส่วนน้ำในบ่อเครื่องปฏิกรณ์ที่ถูกหล่อเย็นเเล้ว จะหมุนเวียบนกลับเข้าบ่อ โดยไม่มีการปล่อยออกสู่แหล่งน้ำภายนอก

 

เครื่องกําบังรังสี

เครื่องกําบังรังสีเป็นส่วนประกอบสําคัญอีกส่วนหนึ่งของเครื่องปฏิกรณ์ปรมาณูทุกชนิดทั้งนี้เพื่อให้การทํางานกับเครื่องปฏิกรณ์ปรมาณูนั้นมีความปลอดภัยสําหรับเครื่องปปว-1/1 เครื่องกําบังรังสีประกอบด้วยผนังบ่อเครื่องปฏิกรณ์ฯที่ทําจากคอนกรีตความหนาแน่นสูง (high density concrete) และน้ําในบ่อปฏิกรณ์ฯโดยทั้งน้ําและคอนกรีตความหนาแน่นสูงจะทําหน้าที่กําบังรังสีที่เกิดขึ้นจากแกนเครื่องปฏิกรณ์ฯ

 

ระบบวัดและควบคุม

ในการเดินเครื่องปฏิกรณ์ฯเจ้าหน้าที่เดินเครื่องปฏิกรณ์ฯจะประจําอยู่ในห้องควบคุมเพื่อทําการควบคุมเครื่องปฏิกรณ์ฯให้มีกําลังตามที่ต้องการโดยเจ้าหน้าที่เดินเครื่องปฏิกรณ์ฯจะควบคุมเครื่องปฏิกรณ์ผ่านระบบควบคุมและจะติดตามสภาวะการทํางานของเครื่องปฏิกรณ์ฯผ่านทางระบบวัดซึ่งแสดงผลบนแผงควบคุมในห้องควบคุมตัวอย่างของสภาวะการทํางานของเครื่องปฏิกรณ์ฯหลักที่ต้องควบคุมและติดตามได้แก่กําลังของเครื่องปฏิกรณ์ฯอุณหภูมิของแท่งเชื้อเพลิงอุณหภูมิของน้ําในบ่อปฏิกรณ์เป็นต้นเครื่องปปว-1/1 ได้มีการใช้งานมาเป็นเวลามากกว่า 40 ปีแล้วและไม่เคยมีอุบัติเหตุร้ายแรงใดๆเกิดขึ้นซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นถึงศักยภาพของความปลอดภัยเครื่องปฏิกรณ์ฯ

 

เครื่องเร่งอนุภาคอิเล็กตรอนบีม


ความปลอดภัยของเครื่องปฏิกรณ์

          เครื่องปฏิกรณ์ปปว-1/1 เป็นเครื่องปฏิกรณ์ปรมาณูวิจัยแบบ TRIGA ซึ่งมีความปลอดภัยที่สูงมากเนื่องจากเครื่องปฏิกรณ์ปรมาณูวิจัยแบบ TRIGA ถูกออกแบบให้มีความปลอดภัยในตัวเอง (Inherent Safety) และยังมีระบบความปลอดภัยเชิงวิศวกรรม (Engineered Safety) อีกด้วย

  • การออกแบบให้เครื่องปฏิกรณ์ปปว-1/1 มีความปลอดภัยในตัวเองประกอบด้วย

                    (1) เชื้อเพลิงนิวเคลียร์ทำจากสารประกอบ UZrH ซึ่งมีความเสถียรทางเคมีสูง

                    (2) เปลือกหุ้มแท่งเชื้อเพลิงของเครื่องปฏิกรณ์ปปว-1/1 ทำจากเหล็กกล้าไร้สนิมและสามารถทนอุณหภูมิได้สูงถึง 930 oC

                    (3)  เชื้อเพลิงนิวเคลียร์แบบ UZrH สามารถเก็บกักผลผลิตการแบ่งแยกนิวเคลียส (Fission Product) ได้ดีดังนั้นแม้เปลือกหุ้มแท่งเชื้อเพลิงเสียหายก็ยังสามารถเก็บกักผลผลิตการแบ่งแยกนิวเคลียสได้ประมาณ 99%

                 (4)   เชื้อเพลิงนิวเคลียร์แบบ UZrH ที่ใช้ในเครื่องปฏิกรณ์ปปปว-1/1 มีการเสริมสมรรถนะ U-235 ต่ำกว่าร้อยละ 20 ซึ่งเป็นไปตามข้อกำหนดของทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (IAEA)

                    (5)   เชื้อเพลิงนิวเคลียร์แบบ UZrH สามารถหยุดยั้งปฏิกิริยาแตกตัวได้ด้วยตัวเองเมื่อเกิดเหตุผิดปกติขึ้นในระบบ

                    (6)   ระบบถ่ายเทความร้อนในเครื่องปฏิกรณ์ปปว-1/1เป็นระบบปิดไม่มีส่วนใดสัมผัสกับเครื่องมืออุปกรณ์ภายนอก

           (7)   เครื่องมืออุปกรณ์ที่สัมผัสและปนเปื้อนรังสีจะติดตั้งรวมไว้ภายในอาคารคลุมเครื่องปฏิกรณ์เพื่อความสะดวกในการควบคุมตลอดจนปลอดภัยต่อผู้ปฏิบัติงานประชาชนและสิ่งแวดล้อม

 

  • ระบบความปลอดภัยเชิงวิศวกรรมของเครื่องปฏิกรณ์ปปว-1/1 ประกอบด้วย

         ระบบดับเครื่องปฏิกรณ์ (SCRAM) ทำหน้าที่ในการหยุดการทำงานหรือยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาลูกโช่ ในเครื่องปฏิกรณ์โดยอัตโนมัติอันเนื่องมาจากเหตุผิดปกติที่อาจส่งผลเสียหายต่อเครื่องปฏิกรณ์ได้ระบบดับเครื่องปฏิกรณ์ฯปปว-1/1 ทำงานโดยการตัดกระแสไฟฟ้าที่ควบคุมแม่เหล็กของแท่งควบคุมให้แท่งควบคุมตกเข้าสู่แกนเครื่องปฏิกรณ์อย่างรวดเร็วโดยแรงโน้มถ่วงโลกเพื่อดูดจับนิวตรอนไม่ให้เกิดปฏิกิริยาลูกโซ่ได้อีกสำหรับเครื่องปฏิกรณ์ปปว-1/1 ระบบดับเครื่องปฏิกรณ์จะทำงานโดยอัตโนมัติในกรณีเกิดเหตุการณ์ผิดปกติดังนี้

                   - อุณหภูมิแท่งเชื้อเพลิงเกินกว่า 600 °C

                   - กำลังของเครื่องปฏิกรณ์ฯ มากกว่า 1.43 MW

                   - ระดับน้ำในบ่อเครื่องปฏิกรณ์ ลดต่พกว่า 7.1 ม.

                  - กำลังของเครื่องปฏิกรณ์ เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจนมำให้ค่าคาบในการเพิ่มขึ้นของกำลังเครื่องมี

                       ค่าน้อยกว่า 3 วินาที

                  - เกิดความผิดปกติกับหัววัดนิวตรอน

 

         ระบบระบายความร้อนฉุกเฉิน (ECCS) ประกอบด้วยชุดปั๊มน้ำอัตโนมัติที่เตรียมไว้สำหรับฉีดน้ำหล่อเย็นหล่อเลี้ยงแท่งเชื้อเพลิงเพื่อลดความร้อนที่สะสมในเชื้อเพลิงและดูดซับสารกัมมันตรังสีที่อาจรั่วไหลออกจากเชื้อเพลิงไม่ให้แพร่กระจายไปในอากาศได้โดยระบบระบายความร้อนฉุกเฉินนี้จะทำงานเมื่อมีเหตุผิดปรกติและทำให้ระดับน้ำในบ่อเครื่องปฏิกรณ์ลดลงต่ำกว่าระดับที่กำหนด

          ระบบระบายอากาศภายในอาคารคลุมเครื่องปฏิกรณ์ปรมาณูวิจัยคือระบบควบคุมและปรับสภาพอากาศภายในอาคารให้มีอุณหภูมิและความดันที่เหมาะสมตลอดเวลาโดยความดันภายในอาคารคลุมเครื่องปฏิกรณ์ปปว-1/1 จะถูกรักษาให้มีค่าต่ำกว่าความดันบรรยากาศภายนอกเล็กน้อยทั้งนี้เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการฟุ้งกระจายของสารกัมมันตรังสีในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุจนทำให้เกิดการรั่วไหลของสารกัมมันตรังสี

         เครื่องปฏิกรณ์ปปว-1/1 ได้มีการใช้งานมาเป็นเวลามากกว่า 40 ปีโดยไม่มีอุบัติเหตุร้ายแรงใดๆก็เป็นข้อพิสูจน์ถึงความปลอดภัยของเครื่องปฏิกรณ์ปปว-1/1 ได้อย่างดี

 

งานเดินเครื่องปฏิกรณ์

          ฝ่ายเดินเครื่องปฏิกรณ์ฯมีหน้าที่ความรับผิดชอบในการเดินเครื่องปฏิกรณ์ฯอย่างปลอดภัยเพื่อรองรับการใช้ประโยชน์จากเครื่องปฏิกรณ์ปปว-1/1 ทั้งนี้การเดินเครื่องปฏิกรณ์ฯจะต้องเป็นไปตามข้อกำหนดและเงื่อนไขความปลอดภัยของเครื่องปฏิกรณ์ฯที่ได้รับการอนุญาตจากคณะกรรมการพลังงานปรมาณูเพื่อสันติและจะต้องคำนึงถึงหลักความปลอดภัยเป็นอันดับสูงสุด

 

โดยปรกติการเดินเครื่องปฏิกรณ์ปปว-1/1 จะเป็นตามตารางดังนี้

                   วันจันทร์ : เดินเครื่องปฏิกรณ์ ที่มีกำลัง 1000 กิโลวัตต์ เป็นเวลา 7 ชั่วโมง ( 9.00 - 16.00 น. )

                   วันอังคาร : เดินเครื่องปฏิกรณ์ ที่มีกำลัง 1000 กิโลวัตต์ เป็นเวลา 7 ชั่วโมง ( 9.00 - 16.00 น. )

                   วันพุธ : เดินเครื่องปฏิกรณ์ ที่มีกำลัง 1000 กิโลวัตต์ เป็นเวลา 12 ชั่วโมง ( 9.00 - 21.00 น. )

                   วันพฤหัส :  ไม่มีการเดินเครื่อง ( สำหรับการทดลองเเละซ่อมบำรุง )

                   วันศุกร์ :  ไม่มีการเดินเครื่อง ( สำหรับการทดลองเเละซ่อมบำรุง )

                   วันเสาร์ –อาทิตย์ : ไม่มีการเดินเครื่อง

 หมายเหตุ:ชั่วโมงการการเดินเครื่องอาจเปลี่ยนเเปลง ขึ้นกับภารกิจที่ได้รับมอบหมาย

ในแต่ละผลัดระหว่างการเดินเครื่องปฏิกรณ์ฯจะประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ดังนี้

  • เจ้าหน้าที่ควบคุมเครื่องปฏิกรณ์ฯประจำผลัด 1 คน ทำหน้าที่ตรวจสอบและควบคุมการปฏิบัติงานเดินเครื่องปฏิกรณ์ฯประจำผลัดนอกจากนี้เจ้าหน้าที่ควบคุมเครื่องปฏิกรณ์ฯจะเป็นผู้วิเคราะห์สภาวะของการเดินเครื่องปฏิกรณ์ฯเพื่อให้มั่นใจว่าการเดินเครื่องปฏิกรณ์ฯเป็นไปด้วยความปลอดภัย
  • เจ้าหน้าที่เดินเครื่องปฏิกรณ์ฯประจำผลัด 2 คนทำหน้าที่ตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงสภาวะต่างๆของเครื่องปฏิกรณ์ฯและหน้าที่ควบคุมสภาวะของเครื่องปฏิกรณ์ฯให้เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดภายใต้การควบคุมของเจ้าหน้าที่ควบคุมเครื่องปฏิกรณ์ฯประจำผลัด
  • เจ้าหน้าที่ฟิสิกส์สุขภาพประจำผลัด 1 คนทำหน้าที่ตรวจสอบและประเมินความปลอดภัยทางรังสีในระหว่างการเดินเครื่องปฏิกรณ์ฯเพื่อให้มั่นใจว่าผู้ปฏิบัติกับเครื่องปฏิกรณ์ฯสาธารณชนและสิ่งแวดล้อมโดยรอบมีความปลอดภัยจากการเดินเครื่องปฏิกรณ์ฯ

         เจ้าหน้าที่ควบคุมเครื่องปฏิกรณ์ฯและเจ้าหน้าที่เดินเครื่องปฏิกรณ์ฯที่ปฏิบัติงานเดินเครื่องปฏิกรณ์ฯได้จะต้องได้ผ่านการทดสอบเพื่อขอการรับรองจากสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติอย่างสม่ำเสมอทั้งนี้เพื่อให้มั่นใจว่าเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานเดินเครื่องปฏิกรณ์ฯมีความรู้ที่เพียงพอสำหรับการเดินเครื่องปฏิกรณ์ฯอย่างปลอดภัย

 

งานซ่อมบำรุงเครื่องปฏิกรณ์

          เพื่อให้การใช้ประโยชน์จากเครื่องปฏิกรณ์ฯเป็นไปได้อย่างต่อเนื่องและมีความปลอดภัยฝ่ายเดินเครื่องปฏิกรณ์ฯมีหน้าที่ความรับผิดชอบในการซ่อมบำรุงเครื่องปฏิกรณ์ฯให้อยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งานอยู่ตลอดเวลาการซ่อมบำรุงเครื่องปฏิกรณ์ฯประกอบด้วยกิจกรรมการตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอและกิจกรรมมบำรุงรักษาตามรอบอายุของอุปกรณ์

 

ทั้งนี้การซ่อมบำรุงเครื่องปฏิกรณ์ปปว-1/1 จะแบ่งตามระบบและส่วนประกอบหลักต่างๆดังนี้

  • ระบบไฟฟ้า
  • ระบบวัดและควบคุม
  • ระบบระบายความร้อน
  • ระบบลมและระบายอากาศในบริเวณกักอากาศ
  • ระบายความร้อนของแกนเครื่องปฏิกรณ์ฯกรณีฉุกเฉิน
  • ระบบรักษาคุณภาพของน้ำในบ่อ
  • อุปกรณ์อาบรังสีและระบบประกอบ
  • เชื้อเพลิงและแกนเครื่องปฏิกรณ์

         นอกจากนี้การซ่อมบำรุงเครื่องปฏิกรณ์ฯยังประกอบด้วยกิจกรรมการทดสอบและประเมินค่าพารามิเตอร์ต่างๆของเครื่องปฏิกรณ์ฯเพื่อให้มั่นใจได้ว่าเครื่องปฏิกรณ์ฯสามารถทำงานได้ตามข้อกำหนดและเงื่อนไขความปลอดภัยการซ่อมบำรุงเครื่องปฏิกรณ์ฯอย่างเข้มงวดของฝ่ายมีความมุ่งหวังที่จะป้องกันการหยุดเดินเครื่องเนื่องจากความขัดข้องของเครื่องปฏิกรณ์ฯและเหตุผิดปรกติต่างๆของเครื่องปฏิกรณ์ฯดังนั้นการซ่อมบำรุงเครื่องปฏิกรณ์ฯจะทำให้การใช้ประโยชน์จากเครื่องปฏิกรณ์ฯเป็นไปได้อย่างต่อเนื่องและมีความปลอดภัยสูงสุด

 

งานวิเคราะห์เครื่องปฏิกรณ์ฯ

            งานวิเคราะห์เครื่องปฏิกรณ์ฯเป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้เครื่องปฏิกรณ์ปปว-1/1  สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีความปลอดภัยสูงสุดโดยฝ่ายสนับสนุนเเละวางเเผนเครื่องปฏิกรณ์ฯมีหน้าที่ความรับผิดชอบในการนำแบบจำลองทางคณิตศาสตร์มาใช้ในการวิเคราะห์และประเมินเครื่องปฏิกรณ์ฯแบบจำลองที่นำมาใช้สำหรับเครื่องปฏิกรณ์ปปว-1/1  ประกอบด้วยการจำลองด้านต่างๆดังนี้

  • การจำลองเชิงนิวตรอน (Neutronics Simulation)

                   การจำลองเชิงนิวตรอนเป็นการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เชิงนิวตรอน (Neutronics Code) เพื่อประเมินสภาวะการกระจายตัวของอนุภาคนิวตรอนและความร้อนที่เกิดขึ้นภายในแกนเครื่องปฏิกรณ์ฯทั้งนี้การจำลองเชิงนิวตรอนจะสามารถทำให้ทราบค่านิวตรอนฟลักซ์ที่ตำแหน่งอาบรังสีต่างๆและนำข้อมูลไปใช้ในการวางแผนการใช้ประโยชน์จากเครื่องปฏิกรณ์ฯได้นอกจากนี้การจำลองเชิงนิวตรอนยังสามารถใช้ในการออกแบบอุปกรณ์อาบรังสีเพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์จากเครื่องปฏิกรณ์ฯที่เหมาะสมการจำลองเชิงนิวตรอนจะทำให้สามารถประเมินการกระจายความร้อนที่เกิดขึ้นภายในแกนเครื่องปฏิกรณ์ฯในแต่ละสภาวะและทำให้มั่นใจได้ว่าความร้อนที่เกิดขึ้นภายในแกนเครื่องปฏิกรณ์ฯจะอยู่ภายใต้ขีดจำกัดและเงื่อนไขการเดินเครื่องปฏิกรณ์ฯซึ่งเป็นการยืนยันความปลอดภัยของเครื่องปฏิกรณ์ฯอีกด้วยนอกจากนี้การจำลองเชิงนิวตรอนจะสามารถจำลองอัตราการใช้เชื้อเพลิงโดยเจ้าหน้าที่สามารถใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เชิงนิวตรอนในการประเมินอายุของแกนเครื่องปฏิกรณ์ฯแต่ละแกนและใช้ในการออกแบบและวางแผนการจัดแกนเครื่องปฏิกรณ์ฯต่อไปในอนาคตได้

         ในปัจจุบันฝ่ายสนับสนุนเเละวางเเผนเครื่องปฏิกรณ์ฯได้นำโปรแกรมคอมพิวเตอร์เชิงนิวตรอนที่มีการใช้งานอย่างแพร่หลายในระดับนานาชาติมาใช้สำหรับการวิเคราะห์เครื่องปฏิกรณ์ปปว-1/1 โปรแกรมคอมพิวเตอร์เชิงนิวตรอนเหล่านี้ได้แก่

  • โปรแกรม MCNPX (พัฒนาโดย Los Alamos National Laboratory ประเทศสหรัฐอเมริกา)
  • โปรแกรม MVP (พัฒนาโดย Japan Atomic Energy Agency ประเทศญี่ปุ่น)
  • โปรแกรม SRAC/COREBN (พัฒนาโดย Japan Atomic Energy Agency ประเทศญี่ปุ่น)
  • การจำลองเชิงความร้อน (Thermal Hydraulics Simulation)

                   การจำลองเชิงความร้อนเป็นการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เชิงเทอร์มัลไฮดรอลิกส์ (Thermal Hydraulics Code) ในการประเมินสภาวะการระบายความร้อนที่เกิดขึ้นในแกนเครื่องปฏิกรณ์ฯโดยการจำลองเชิงความร้อนจะใช้ผลการกระจายความร้อนที่เกิดขึ้นภายในแกนเครื่องปฏิกรณ์ฯที่ได้จากการจำลองเชิงนิวตรอนเป็นข้อมูลตั้งต้นสำหรับการประเมินการระบายความร้อนต่อไปการจำลองเชิงความร้อนจะทำให้สามารถประเมินการระบายความร้อนด้วยสารระบายความร้อนได้ทั้งนี้เพื่อให้มั่นใจว่าแกนเครื่องปฏิกรณ์ฯจะไม่มีการสะสมความร้อนซึ่งอาจทำให้เกิดความล้มเหลวของส่วนประกอบต่างๆได้เมื่ออุณหภูมิสูงเกินกว่าเกณฑ์ปลอดภัยนอกจากนี้การจำลองเชิงความร้อนยังใช้ในการออกแบบอุปกรณ์อาบรังสีสำหรับการใช้ประโยชน์จากเครื่องปฏิกรณ์ฯเพื่อให้อุปกรณ์อาบรังสีมีสภาวะการระบายความร้อนที่เหมาะสมและเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุระหว่างการใช้งานในปัจจุบันฝ่ายจัดการเครื่องปฏิกรณ์ฯได้นำโปรแกรมคอมพิวเตอร์เชิงความร้อน COOLODN-2 (พัฒนาโดย Japan Atomic Energy Agency ประเทศญี่ปุ่น) ซึ่งมีการใช้งานอย่างแพร่หลายในระดับนานาชาติมาใช้สำหรับการวิเคราะห์เครื่องปปว-1/1

  • การจำลองสภาวะการเปลี่ยนแปลงแบบฉับพลัน (Transient Simulation)

                   การจำลองสภาวะการเปลี่ยนแปลงแบบฉับพลันเป็นการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์จำลองสภาวะการเปลี่ยนแปลงแบบฉับพลัน (Transient Analysis Code) ในการประเมินความปลอดภัยของเครื่องปฏิกรณ์ฯที่เกิดเหตุผิดปรกติต่างๆขึ้นอย่างฉับพลันทั้งนี้การจำลองสภาวะการเปลี่ยนแปลงแบบฉับพลันเป็นการประเมินเพื่อยืนยันความปลอดภัยของเครื่องปปว-1/1 หากเกิดเหตุผิดปรกติต่างๆขึ้นอย่างฉับพลันในปัจจุบันฝ่ายจัดการเครื่องปฏิกรณ์ฯได้นำโปรแกรมคอมพิวเตอร์เชิงความร้อน EUREKA-2/RR (พัฒนาโดย Japan Atomic Energy Agency ประเทศญี่ปุ่น) ซึ่งมีการใช้งานอย่างแพร่หลายในระดับนานาชาติมาใช้สำหรับการวิเคราะห์เครื่องปปว-1/1

  • การจำลองการกระจายตัวของสารกัมมันตรังสี (Dispersion Simulation)

                   การจำลองการกระจายตัวของสารกัมมันตรังสีเป็นการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์จำลองกระจายตัวของสารกัมมันตรังสีในอากาศ (Air Dispersion Health Physics Code) ในการประเมินความเข้มข้นของสารกัมมันตรังสีและการได้รับรังสีหากเกิดอุบัติเหตุและมีการฟุ้งกระจายของสารกัมมันตรังสีในอากาศทั้งนี้เพื่อเป็นการประเมินว่าหากเกิดอุบัติเหตุขั้นร้ายแรงและมีการฟุ้งกระจายของสารกัมมันตรังสีในอากาศเจ้าหน้าที่สาธารณชนและสิ่งแวดล้อมโดยรอบจะไม่ได้รับรังสีเกินกว่าที่กำหนดไว้ตามกฏหมายฝ่ายสนับสนุนเเละวางเเผนเครื่องปฏิกรณ์ฯมีหน้าที่ความรับผิดชอบในการวิเคราะห์เครื่องปฏิกรณ์ฯในด้านความปลอดภัยทั้งหมดอย่างรอบด้านและจัดทำเป็นเอกสารวิเคราะห์ความปลอดภัย (Safety Analysis Report) ซึ่งต้องจัดส่งรายงานให้คณะกรรมการพลังงานปรมาณูเพื่อสันติตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอเพื่อเป็นการประกันความปลอดภัยของเครื่องปฏิกรณ์ฯ

 

งานพัฒนาเทคโนโลยี

          ฝ่ายจัดการเครื่องปฏิกรณ์ฯมีความรับผิดชอบในการดำเนินงานวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีต่างๆที่เกี่ยวข้องกับเครื่องปฏิกรณ์ปรมาณูวิจัยโดยงานวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีต่างๆจะดำเนินการโดยเจ้าหน้าที่ฝ่ายทั้งหมดหรือผ่านความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยต่างๆในประเทศทั้งนี้งานวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีที่ดำเนินการเหล่านี้จะช่วยปรับปรุงให้การเดินเครื่องปฏิกรณ์ฯการซ่อมบำรุงปฏิกรณ์ฯการวิเคราะห์เครื่องปฏิกรณ์ฯและการใช้ประโยชน์จากเครื่องปฏิกรณ์ฯเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและความปลอดภัยสูงสุดเทคโนโลยีที่มีการวิจัยและพัฒนาโดยฝ่ายจัดการเครื่องปฏิกรณ์ฯเช่นการพัฒนาออกแบบระบบและอุปกรณ์ใหม่ที่มีศักยภาพสูงขึ้นสำหรับทดแทนระบบหรืออุปกรณ์เดิมเทคโนโลยีใหม่ในการวิเคราะห์และประเมินประสิทธิภาพของเครื่องปฏิกรณ์ฯเทคโนโลยีทดแทนสำหรับงานซ่อมบำรุงเพื่อลดระยะเวลาการปฏิบัติงานและให้มีความแม่นยำมากขึ้นเทคโนโลยีเพื่อสนับสนุนการใช้ประโยชน์ให้การปฏิบัติงานง่ายขึ้นเป็นต้นกิจกรรมวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีที่ดำเนินการเหล่านี้จะทำให้เทคโนโลยีด้านเครื่องปฏิกรณ์ปรมาณูในประเทศไทยมีศักยภาพสูงขึ้น

 

งานประกันคุณภาพ

         การประกันคุณภาพเป็นส่วนสำคัญในการบริหารจัดการเครื่องปฏิกรณ์ฯโดยศูนย์เครื่องปฏิกรณ์ฯมีระบบประกันคุณภาพที่ครอบคลุมกิจกรรมต่างๆเกี่ยวกับเครื่องปฏิกรณ์ฯเพื่อประกันคุณภาพในการดำเนินงานกับเครื่องปฏิกรณ์ฯอย่างปลอดภัยในปัจจุบันสทน.ได้นำระบบประกันคุณภาพ ISO9001:2008 เข้ามาใช้ทั้งองค์กรซึ่งครอบคลุมถึงกิจกรรมของศูนย์เครื่องปฏิกรณ์ฯตั้งแต่การเดินเครื่องปฏิกรณ์ฯการซ่อมบำรุงเครื่องปฏิกรณ์ฯการวิเคราะห์เครื่องปฏิกรณ์ฯและการสนับสนุนการใช้ประโยชน์จากเครื่องปฏิกรณ์ฯศูนย์เครื่องปฏิกรณ์ฯมีการปรับปรุงระบบประกันคุณภาพอย่างต่อเนื่องเพื่อให้มั่นใจว่าการดำเนินงานของศูนย์เครื่องปฏิกรณ์ฯเป็นไปด้วยความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพสูงสุดงานระบบประกันคุณภาพจะมีการพัฒนาอย่างสม่ำเสมอให้ครอบคลุมข้อกำหนดของระบบประกันคุณภาพในทุกมิติที่เกี่ยวข้อง

 

งานสนับสนุนการใช้ประโยชน์

          ศูนย์เครื่องปฏิกรณ์ฯมีหน้าที่ความรับผิดชอบในการสนับสนุนให้การใช้ประโยชน์จากเครื่องปฏิกรณ์ปปว-1/1 เป็นไปโดยสะดวกและปลอดภัยทั้งนี้ศูนย์เครื่องปฏิกรณ์ฯจะทำหน้าที่อำนวยความสะดวกในการส่งคำขออนุมัติใช้ประโยชน์จากเครื่องปฏิกรณ์ฯการนำสารตัวอย่างเข้าและออกจากอุปกรณ์อาบรังสีการขนส่งสารตัวอย่างที่อาบรังสีออกจากบริเวณอาบรังสีการออกแบบอุปกรณ์ใช้ประโยชน์จากเครื่องปฏิกรณ์ฯตามความต้องการของผู้ใช้และร่วมสนับสนุนงานในระหว่างการใช้ประโยชน์จากเครื่องปฏิกรณ์ฯ