บริการวิชาการและฝึกอบรม

การสร้างเครื่องข่ายกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินทางนิวเคลียร์เเละรังสีในพื้นที่จังหวัดนครนายกเเละปทุมธานี

การฝึกอบรมหลักสูตร

การสร้างเครือข่ายกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินทางนิวเคลียร์และรังสี

สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) อ.องครักษ์ จ.นครนายก

วันที่ 25 - 27 กรกฎาคม 2565

…………………………………………………………….

หลักการและเหตุผล

                      สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สทน.) เป็นหน่วยงานที่มีภารกิจหลักในการวิจัย พัฒนา ให้บริการ และเผยแพร่การประยุกต์ใช้ประโยชน์ของเทคโนโลยีนิวเคลียร์ รวมทั้งให้ความช่วยเหลือ สนับสนุน และแนะนำกรณีที่เกิดอุบัติเหตุทางรังสีขึ้นในพื้นที่สาธารณะ  เพื่อให้สามารถบรรเทาความรุนแรงจากอุบัติเหตุทางรังสีที่เกิดขึ้นได้

                     สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) ได้กำหนดให้มีการฝึกอบรม เรื่องการสร้างเครือข่ายกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินทางนิวเคลียร์ และรังสี”เพื่อฝึกซ้อมระงับเหตุฉุกเฉินสาธารณภัยทางรังสีและระเบียบคณะกรรมการพลังงานปรมาณูเพื่อสันติว่าด้วยการปฏิบัติให้เกิดความปลอดภัยสําหรับการใช้เครื่องปฏิกรณ์ปรมาณูวิจัยพ.ศ.2558หมวดทั่วไปการดําเนินการเพื่อให้เกิดความปลอดภัยซึ่งผู้รับใบอนุญาตต้องดําเนินการข้อ11ดําเนินการตามแผนฉุกเฉินทางนิวเคลียร์และทางรังสีตามแผนฉุกเฉินที่คณะกรรมการให้ความเห็นชอบและต้องดําเนินการฝึกซ้อมตามแผนฉุกเฉินทางนิวเคลียร์และทางรังสีทุกปีโดยมีการฝึกซ้อมในระดับสูงสุดตามระยะเวลาที่กําหนดไว้ในแผนหรืออย่างน้อยทุกสองปีและเป็นการเตรียมพร้อมเจ้าหน้าที่ระงับเหตุของหน่วยงานที่มีส่วนร่วมในการเข้าระงับเหตุฉุกเฉินทางนิวเคลียร์และรังสี

ในการฝึกซ้อมในระดับสูงสุดตามระยะเวลาที่กําหนดไว้ในแผนหรืออย่างน้อยทุกสองปี โดยมีการควบคุมความปลอดภัยและการระงับเหตุฉุกเฉินทางรังสี จะต้องมีการถ่ายทอดความรู้ด้านความปลอดภัยทางรังสี การเผชิญเหตุ และการระงับเหตุฉุกเฉินทางนิวเคลียร์และรังสี เพื่อให้เจ้าหน้าที่ ที่เกี่ยวข้อง ได้รับความรู้ความเข้าใจเรื่องรังสี การป้องกันรังสี และการปฏิบัติตนเมื่อเข้าปฏิบัติงานในพื้นที่เกิดอุบัติเหตุทางรังสี  โดยมีความร่วมมือช่วยเหลือ เพื่อบรรเทาทุกข์ในภาวะฉุกเฉินทางรังสีอย่างถูกต้อง ปลอดภัย และเป็นระบบ รวมทั้งสามารถถ่ายทอดความรู้ให้คำแนะนำ สู่ประชาชนได้อีกทอดหนึ่ง  ดังนั้นการดำเนินการถ่ายทอดความรู้ เรื่อง ความปลอดภัยทางรังสี การระงับเหตุฉุกเฉินทางรังสี และการสร้างเครือข่ายกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินทางนิวเคลียร์และรังสี จึงเป็นสิ่งที่จำเป็น ในการปฏิบัติงานเป็นเครือข่ายโดยผู้ปฏิบัติงานและผู้ที่เกี่ยวข้องจะต้องเป็นไปในทิศทางเดียวกัน มีความถูกต้อง รวดเร็ว มีประสิทธิภาพ เพื่อประโยชน์อันสูงสุดต่อรัฐ ประชาชน และสิ่งแวดล้อม

วัตถุประสงค์

1.   เพื่อพัฒนาและเสริมสร้างความมั่นคงของชาติ ให้กับหน่วยงานในเขตพื้นที่สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด นครนายกและพื้นที่ใกล้เคียง  ในเรื่องของการเฝ้าดู ระมัดระวัง และติดตามวัสดุกัมมันตรังสีอันอาจเป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติ

2.   เพื่อส่งเสริมให้ความรู้แก่เจ้าหน้าที่ของรัฐจากหน่วยงานในเขตพื้นที่สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และพื้นที่ใกล้เคียง รวมถึงผู้ที่เกี่ยวข้อง และประชาชน ให้ตระหนักถึงความปลอดภัยทางรังสี และการระงับเหตุฉุกเฉินทางรังสี

3.   เพื่อสร้างเครือข่าย และให้มีการประสานงานปฏิบัติการระหว่างหน่วยงานในเขตพื้นที่สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ

4.    เพื่อสร้างความรู้ทางรังสีและการป้องกันอันตรายจากรังสีอย่างถูกต้อง

5.    เพื่อให้บุคคลกรที่เกี่ยวข้อง ได้ฝึกซ้อมภาคปฏิบัติกับอุปกรณ์และเครื่องมือที่จำเป็น กรณีเกิดเหตุฉุกเฉินทางนิวเคลียร์และรังสี

6.    เพื่อให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องสามารถปฏิบัติงาน และให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ระงับเหตุฉุกเฉินทางรังสีได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ

คุณสมบัติผู้เข้าอบรม

ผู้เข้าอบรม ประกอบด้วย

1.   เจ้าหน้าที่บรรเทาสาธารณภัยจากสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และต่างจังหวัด

2.   เจ้าหน้าที่ตำรวจ-ทหาร ที่มีส่วนร่วมในการซ้อมแผนฉุกเฉินทางนิวเคลียร์และรังสี สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ และแผนเผชิญเหตุสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ

3.    เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ เจ้าหน้าที่ปกครองส่วนท้องถิ่น เจ้าหน้าที่สาธารณสุข

4.    ผู้ที่เกี่ยวข้อง จากจังหวัดนครนายก พื้นที่ใกล้เคียง และจากต่างจังหวัด

5.    ได้รับการฉีดวัคซีน โควิด 19 แล้วอย่างน้อย 2 เข็ม

หน่วยงานผู้จัดหลักสูตร

                     ฝ่ายความปลอดภัยด้านนิวเคลียร์ กลุ่มงานอำนวยการ และฝ่ายบริการวิชาการ ศูนย์วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีนิวเคลียร์ สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)

จำนวนผู้เข้าอบรม

จำนวนรวมประมาณ 40 คน                                                                                                                                                                                                                                                                                                                    

สถานที่ฝึกอบรม

ห้องประชุมอาคารอิเล็กตรอนบีม สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (คลองห้า)  อ. คลองหลวง  จ.ปทุมธานี

ระยะเวลาการฝึกอบรม

ฝึกอบรมรวม 3 วันทำการ ระหว่างวันที่ วันที่ 25 – 27 กรกฎาคม 2565

ตั้งแต่เวลา 08.30 – 16.30 น.

วิธีการฝึกอบรม

          ภาคบรรยาย ภาคปฏิบัติ ฝึกปฏิบัติการจริง ทดสอบความรู้ก่อน และหลังการฝึกอบรม

วิทยากร

วิทยากรจากสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)

ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม

          ค่าเดินทาง ค่าอาหารเย็น และที่พัก ให้เบิกจากต้นสังกัด

สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ เป็นผู้รับผิดชอบสถานที่ฝึกอบรม ค่าอาหารกลางวัน และอุปกรณ์ เครื่องมือฝึกอบรม

สอบถามรายละเอียดการฝึกอบรม

                    ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นายสมบูรณ์  มีภู่  ฝ่ายบริการวิชาการ ศูนย์วิจัย และ พัฒนาเทคโนโลยีนิวเคลียร์ สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)   16 ถ. วิภาวดีรังสิต  เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900  โทร:  02-401-9889 ต่อ 5112

หัวข้อวิชาในการฝึกอบรม (อาจเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม)

ก.  ภาคบรรยาย

1.     ความร่วมมือและบทบาทของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินทางรังสี

2.     ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับรังสี และหลักการป้องกันอันตรายจากรังสี

3.     การจัดการกากกัมมันตรังสี

4.     การขนส่งวัสดุกัมมันตรังสี

ข.  ภาคปฏิบัติ :

1.       การแต่งกาย-อุปกรณ์ป้องกันในภาวะฉุกเฉินทางรังสี

2.       การใช้เครื่องมือสำรวจรังสี/สำรวจการเปื้อนสารกัมมันตรังสี

3.       การตรวจวัดรังสีภาคสนาม

4.       การตรวจวัดการเปื้อนสารกัมมันตรังสีที่ตัวบุคคล

5.       การจำลองสถานการณ์ Tabletop exercise และการเตรียมความพร้อมเพื่อปฏิบัติงานภาคสนาม

6.       การฝึกซ้อมการแก้ไขสถานการณ์ภาคสนาม

7.       การประเมินและสรุปผลการฝึกซ้อมภาคสนาม

 

(ร่าง) กำหนดการฝึกอบรม

หลักสูตร “การสร้างเครือข่ายกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินทางรังสีในพื้นที่จังหวัดนครนายกและปทุมธานี”

วันที่ 25 – 27 กรกฎาคม 2565

ณ. ห้องประชุมอาคารอิเล็กตรอนบีม

สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (คลองห้า)  อ. คลองหลวง  จ.ปทุมธานี


วันที่ 25 กรกฎาคม 2565

08.30 – 09.00 น.

ลงทะเบียน (ทำข้อสอบก่อนเรียน)

09.00 – 09.10 น.

09.10 – 10.3น.

พิธีเปิดการฝึกอบรม

บรรยาย 1 ความร่วมมือและบทบาทของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินทางรังสี        (วารุณี)

10.30 – 10.40 น.

พักรับประทานอาหารว่าง

10.40 – 12.10 น.

บรรยาย 2 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับรังสีและหลักการป้องกันอันตรายจากรังสี (ดร.อุดร)

12.10 – 13.00 น.

พักรับประทานอาหารกลางวัน

13.00 – 14.30 น.

บรรยาย 3 การจัดการกากกัมมันตรังสี (ปัญญา ศจ.)

14.30 – 14.40 น.

พักรับประทานอาหารว่าง

14.40  – 16.10 น.

ปฏิบัติการ 1 การแต่งกาย-อุปกรณ์ป้องกันในภาวะฉุกเฉินทางรังสี (ธัญรัศม์/สุพจน์) (ศจ.)

วันที่ 26 กรกฎาคม 2565

08.30 – 09.00 น.

ลงทะเบียน

09.00 – 10.30 น.

ปฏิบัติการ 2 การใช้เครื่องสำรวจรังสี/สำรวจพื้นที่การเปื้อนสารกัมมันตรังสี

(สิทธิพงษ์/นิพัฒน์) ปภ.

10.30 – 10.40 น.

พักรับประทานอาหารว่าง

10.40 – 12.10 น.

ปฏิบัติการ 3 การตรวจวัดรังสีภาคสนาม (สิทธิพงษ์/นิพัฒน์) (ปภ.)

12.10 – 13.00 น.

พักรับประทานอาหารกลางวัน

13.00 – 14.30 น.

ปฏิบัติการ 4 การตรวจวัดการเปื้อนสารกัมมันตรังสีที่ตัวบุคคล (อนันท์/ภานุวัฒน์) (ศจ.)

14.30 – 14.40 น.

พักรับประทานอาหารว่าง

14.40 – 16.10 น.

บรรยาย 4 การขนส่งวัสดุกัมมันตรังสีและการแจ้งเหตุฉุกเฉินทางรังสี (ปาพจน์ ปภ.)

วันที่ 27 กรกฎาคม 2565

08.30 – 09.00 น.

ลงทะเบียน

09.00 – 10.30 น.

ปฏิบัติการ 5 การจำลองสถานการณ์ Tabletop exercise และการเตรียมความพร้อมเพื่อปฏิบัติงานภาคสนาม (นิพัฒน์/สิทธิพงษ์/สมาน/อุดร)

10.30 – 10.40 น.

พักรับประทานอาหารว่าง

10.40 – 12.10 น.

การฝึกซ้อมการแก้ไขสถานการณ์ภาคสนาม (ประเมิน: สิทธิพงษ์/สมาน/นิพัฒน์/อุดร)

12.10 – 13.00 น.

พักรับประทานอาหารกลางวัน

13.00 – 14.30 น.

การประเมินและสรุปผลการฝึกซ้อมภาคสนาม (ประเมิน: สิทธิพงษ์/สมาน/นิพัฒน์/อุดร)

14.30 – 14.40 น.

พักรับประทานอาหารว่าง

14.40 – 16.10 น.

พิธีปิดการฝึกอบรม